19
ธ.ค.
การเจริญเติบโต หมายถึงการเพิ่มจำนวนของเซลล์การขยายขนาดจำนวนของเซลล์มีการ เปลี่ยนแปลงลักษณะของโครงสร้าง จากโครงสร้างหนึ่งไปเป็นอีกโครงสร้างหนึ่ง เช่นการเจริญเติบโตทางลำต้น หรือใบไปเป็นดอก ดอกเกิดเป็นผลเป็นต้น
การเจริญเติบโตของพืชแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ ระยะการเจริญเติบโต ทางด้านสืบพันธ์การออกดอกและติดผล และระยะแก่ชราหรือการเสื่อมสภาพ
การเจริญเติบโตของพืช มี 3 กระบวนการ คือ
- การแบ่งเซลล์ทำให้มีจำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้นเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จะมีลักษณะเหมือนเซลล์เดิมแต่มี ขนาดเล็กกว่าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณปลายยอดและปลายราก
- การเพิ่มขนาดของเซลล์เป็นการสร้างเพื่อสะสมสารทำให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยทั่วไปแล้วเมื่อมี การแบ่งเซลล์แล้วก็จะมีการเพิ่มขนาดของเซลล์ด้วยเสมอ
- การเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่เฉพาะอย่างเช่น เซลล์ท่อลำเลียงอาหาร ปาก ใบ หรือเซลล์คุม เซลล์ขนราก ฯลฯ
ลักษณะที่แสดงว่าพืชมีการเจริญเติบโต มีดังนี้
1. รากจะยาวและใหญ่ขึ้น มีรากงอกเพิ่มขึ้น มีการแตกแขนงของรากมากขึ้น
2.ลำต้นจะสูงและใหญ่ขึ้น มีการผลิตทั้งตากิ่ง ตาใบ และตาดอก
3. ใบจะมีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนใบเพิ่มขึ้น
4. ดอกจะใหญ่ขึ้น หรือดอกเปลี่ยนแปลงเป็นผล
5. เมล็ดจะมีการงอกต้นอ่อน
การที่พืชผลติดเฉพาะฮอร์โมนและเอนไซม์ ยังไม่ถือว่ามีการเจริญเติบโต
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่
- ดิน เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชต้องเป็นดินที่อุ้มน้ำได้ดี ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก แต่เมื่อใช้ดินปลูกไปนานๆ ดินอาจเสื่อมสภาพ เช่น หมดแร่ธาตุจำเป็นต้องมีการปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้แก่การไถพรวน การใส่ปุ๋ย การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น
- น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าพืชหรือสัตว์ เนื่องจากในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีน้ำเป็น องค์ประกอบมากกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัว น้ำเป็นส่วนประกอบใหญ่ภายในเซลล์ช่วยละลายสารอาหารต่างๆ ช่วยลำเลียงสารอาหาร สารเคมีรวมทั้งแร่ธาตุต่าง ๆ ระหว่างเซลล์และช่วยลดอุณหภูมิภายในลำต้นอีกด้วย ความสำคัญของน้ำต่อพืช มีดังนี้
1) เป็นวัตถุดิบสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงของพืช
2) เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการงอกของเมล็ดพืช เพราะน้ำจะช่วยทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม ต้นอ่อนสามารถแทงรากงอกออกมาจากเมล็ดได้ง่าย
3) เป็นตัวทำละลายสารอาหารและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน เพื่อช่วยให้รากดูดซึมและลำเลียง ไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ
4) ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำก็จะทำ ให้เซลล์ยืดตัวไม่เต็มที่ต้นจะแคระแกร็น และถ้าขาดน้ำหนักมาก ๆ พืชจะเหี่ยวและเฉาตายไปในที่สุด
5) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช โดยพืชบกจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60 – 90 เปอร์เซ็นต์ส่วนพืชน้ำจะมีน้ำอยู่ประมาณ95 – 99 เปอร์เซ็นต์ - ธาตุอาหาร บทบาทของธาตุอาหารหลักต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืชสรุปได้ดังนี้
1) ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบใน
(1) โปรตีน (โครงสร้างเซลล์เอนไซม์เยื่อหุ้มเซลล์พาหะleหรับการดูดน้ำและธาตุอาหาร)
(2) สารดีเอ็นเอซึ่งเป็นสารพันธุกรรม และสารอาร์เอ็นเอทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีน
(3) ฮอร์โมนพืช คือ ออกซินและไซโทไคนิน
(4) สารอินทรีย์ไนโตรเจนในพืชอีกมากมายหลายชนิด
2) ฟอสฟอรัส เป็นองค์ประกอบใน
(1) กรดนิวคลีอิก ซึ่งมี 2 ชนิดคือ ดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมและควบคุมการแบ่งเซลล์และ อาร์เอ็นเอ ทําหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์
(2) ฟอสโฟลิพิดในโครงสร้างเยื่อของเซลล์ทุกชนิด
(3) สารเอทีพีเป็นแหล่งพลังงานสำหรับกระบวนการต่างๆ ในเซลล์
(4) โคเอนไซม์ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของเอ็นไซม์ต่าง ๆ
3) โพแทสเซียม ธาตุนี้มิได้เป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ใดๆ แต่มีบทบาทสำคัญ คือ
(1) ช่วยในการขยายขนาดของเซลล์ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตด้านขนาดและความสูง
(2) ช่วยในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างน้ำตาลและแป้ง
(3) ขนส่งน้ำตาล สารอาหาร และธาตุอาหารต่างๆ ทางท่อลำเลียงอาหารไปเลี้ยงยอดอ่อน ดอก ผล และราก (4) ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้าในเซลล์เพื่อให้มีสภาพเหมาะกับกิจกรรมต่าง ๆ
(5) เร่งการทำงานของเอ็นไซม์ประมาณ 60 ชนิด
(6) ช่วยให้พืชแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคพืชหลายชนิด
- อากาศ ในอากาศมีแก๊สหลายชนิด แต่แก๊สที่พืชต้องการมากคือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊ส ออกซิเจน ซึ่งใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหารและหายใจ แก๊สทั้งสองชนิดนี้มีอยู่ในดินด้วย ในการ ปลูกพืช จึงควรทำให้ดินโปร่งร่วนซุยอยู่เสมอ เพื่อให้อาหารที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินมีการถ่ายเทได้
- แสงแดด แสง เป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง ซึ่งมีผลกับการเจริญเติบโตของพืช เกษตรกรจึงต้องให้ความสนใจ เพื่อสามารถควบคุมให้เกิดประโยชน์กับพืชที่ปลูกมากที่สุดแสง เป็นปัจจัยสำคัญ ในการสร้างอาหารหรือการสังเคราะห์แสงของพืช โดยมีคลอโรฟิลล์เป็นตัวรับแสงไปใช้เป็นพลังงานในการ เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นคาร์โบไฮเดรดและออกซิเจน
พืชบางชนิด การออกดอกจะสัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาความสั้นยาวของแสงในแต่ละวัน หรือเรียกกัน โดยทั่วไปว่า พืชไวต่อแสง ในขณะที่พืชบางชนิดจัดเป็นพวกไม่ไวต่อแสง เช่น ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่จะ ออกรวงเมื่อเข้าช่วงวันสั้น หรือ ต้นเบญจมาศ หากได้รับช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง จะมีการเกิดดอก และหาก ได้รับแสงมากกว่า 15 ชั่วโมง ก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบ เป็นต้น
ความเข้มของแสง ก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช เพราะหากแสงมีความเข้มน้อยเกินไป จะทําให้ต้นพืชอ่อนแอหรือการยึดของข้อต้น การสังเคราะห์แสงจะไม่สมบูรณ์เต็มที่เป็นผลให้พืชโตช้ากว่าปกติ ดังนั้นการเลือกใช้ตาข่ายพรางแสง (ซาแรน) จะต้องเลือกความหนาและสีที่เหมาะสม
- อุณหภูมิมีส่วนช่วยในการงอกและเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพืชบางชนิดชอบขึ้นในที่ มีอากาศหนาวเย็น แต่พืชบางชนิดก็ชอบขึ้นในที่มีอากาศร้อน การนำพืชมาปลูกจึงควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับ อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาลในแต่ละท้องถิ่นด้วย